Archive for สิงหาคม, 2010

ไทย-จีนหนุนเด็กเรียนภาษาเพื่อนบ้าน

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 30 สิงหาคม 2553
เสริมความแข็งแกร่งประชาคมอาเซียน

นายเหวย ซู กวาน คณบดีคณะการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวในพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) ที่ผ่านการอบรมตามโครงการเรียนร่วมวิชาศึกษาทั่วไป (ภาษาและวัฒนธรรมจีน) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่า การที่ไทยและ จีนมีการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม จะทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรีของประชาคมอาเซียนได้อีกด้วย ทั้งนี้ที่ผ่านมาทุกปีจะมีนักศึกษา ของ ม.ชนชาติกวางสี กว่า 1,000 คน ที่เรียนภาษาไทย ซึ่งตนเชื่อว่าการที่นักศึกษามบส.ได้มาอบรมที่จีน รวมถึงการที่จีนได้ส่งนักศึกษาไปเรียนที่ไทยจะสร้างคุณูปการ ความก้าวหน้า และสานความสัมพันธ์ให้แก่ไทยและจีนมากยิ่งขึ้น

นายเฝิง กวางโฮ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ม.ชนชาติกวางสี กล่าวว่า ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทดลองนำร่องจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาไทยให้แก่ผู้เรียน เช่นเดียวกับการทดสอบมาตรฐานภาษาอังกฤษ หรือการสอบโทเฟล ซึ่งหากการกำหนดมาตรฐานสำเร็จและเป็นที่ยอมรับ ก็จะมีการเปิดศูนย์วัดระดับความรู้ที่ ม.ชนชาติ กวางสีอย่างเป็นทางการต่อไป

ด้าน นางสุทิพย์พร โชติรัตนศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์และภาษา มบส. กล่าวว่า การที่เด็กไทยได้มาอบรมที่ประเทศจีนทำให้ได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคตของเด็ก รวมถึงก่อให้เกิดทัศนคติ มุมมองที่ดีซึ่งกันและกันของคนรุ่นใหม่ เพื่อจะเป็นรากฐานที่มั่นคงและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประชาคมในภูมิภาคด้วย.

Leave a comment »

นักศึกษาพิการโชคดีมีทุนหนุนเรียนปริญญา

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 30 สิงหาคม 2553
ผศ.ดร.สรรค์ วรอินทร์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ในฐานะประธานคณะทำงานบริหารโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนิสิตนักศึกษาพิการในระดับอนุปริญญา และระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2553 เปิดเผยว่า สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้ส่งข้อมูลนิสิตนักศึกษาพิการที่จะขอรับการอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 632 คน ใน 81 สถาบัน รวมเป็นเงิน 6,508,810 บาท ซึ่งคณะทำงานฯ จะอนุมัติงบประมาณในการดูแลนักศึกษาเหล่านี้ต่อไป

ผศ.ดร.สรรค์ กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราและรายการที่ให้การอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับอุดมศึกษา ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พร้อมทั้งมีมติให้มีการส่งหนังสือเวียนแจ้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและนอกสังกัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาพิการที่ต้องการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาได้รับทราบ นอกจากนี้ยังได้พิจารณาปรับปรุงคู่มือ หลักเกณฑ์ และแนะแนวทางปฏิบัติในการขอรับทุนสนับสนุนเงินอุดหนุนทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาพิการในระดับอุดมศึกษา ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อแจกจ่ายให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งได้นำไปประกาศแก่นักศึกษาพิการที่ต้องการรับทุน โดยคู่มือดังกล่าว จะแสดงรายละเอียดของคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ นักศึกษาพิการต้องปฏิบัติตาม คาดว่าจะจัดพิมพ์ประมาณเดือนตุลาคมนี้

“สำหรับเงินอุดหนุนที่จะให้แก่นักศึกษาพิการใน 6 กลุ่มสาขา ประกอบด้วย 1.กลุ่มสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อุดหนุนไม่เกิน 60,000 บาท ต่อคนต่อปี 2.กลุ่มศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อคนต่อปี 3.กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่เกิน 70,000 บาทต่อคนต่อปี 4.กลุ่มเกษตรศาสตร์ ไม่เกิน 70,000 บาทต่อคนต่อปี 5.กลุ่มสาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ไม่เกิน 80,000 ต่อคนต่อปี และ 6.กลุ่มแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ไม่เกิน 150,000 บาทต่อคนต่อปี” ผศ.ดร.สรรค์ กล่าว.

Leave a comment »

กทม.จัดติวเข้มม.ปลายพร้อมลงสอบแข่งขัน

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันเสาร์ ที่ 21 สิงหาคม 2553

กทม.เปิดกิจกรรมติวเข้มให้นักเรียน หวังให้เตรียมตัวสอบเข้าเรียนในระดับสูงขึ้น

(21 ส.ค.53) นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมติวเข้ม ตามโครงการเสริมสร้างความพร้อม เพื่อเตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานคร และบ.โอสถสภา จำกัด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ส.ค.53 ณ อาคารกีฬาเวสน์1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการสอบเข้าศึกษาต่อให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดอื่น ใน 6 รายวิชา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ เคมี และฟิสิกส์ นอกจากนี้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังได้รับมอบทุนการศึกษาจากบ.โอสถสภา จำนวน 30,000 บาท เพื่อนำไปมอบต่อให้แก่นักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ต่อไป

นางทยา กล่าวว่า การจัดโครงการติวเข้มดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาของเยาวชนของชาติ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความรู้ให้แก่นักเรียนแล้ว เทคนิคการสอนจากวิทยากรจากสถาบันกวดวิชาที่มีชื่อเสียง ซึ่งมาร่วมบรรยายจะเป็นการเพิ่มเทคนิคให้กับครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีกด้วย

Leave a comment »

รศ.ดร.กิตติ ตรีเศรษฐ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้มอบหมายให้แต่ละคณะรวบรวมข้อมูลนักศึกษาพิการทั้งที่กำลังศึกษาอยู่และจบไปแล้ว เพื่อพิจารณาแนวทางการรับนักศึกษาพิการเข้าเรียนต่อ เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีผู้พิการต้องการเข้าเรียนใน 7 คณะที่ สจล.เปิดสอน ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ครุอุตสาห กรรม อุตสาหกรรมเกษตร และเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนของ สจล.จะเน้นการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติ จึงอาจทำให้นักศึกษาพิการไม่สามารถเข้าเรียนได้ในสาขา/คณะได้ ซึ่งผู้ปกครองอาจไม่เข้าใจเหตุผล

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ ที่ 13 สิงหาคม 2553

รศ.ดร.กิตติ ตรีเศรษฐ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้มอบหมายให้แต่ละคณะรวบรวมข้อมูลนักศึกษาพิการทั้งที่กำลังศึกษาอยู่และจบไปแล้ว เพื่อพิจารณาแนวทางการรับนักศึกษาพิการเข้าเรียนต่อ เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีผู้พิการต้องการเข้าเรียนใน 7 คณะที่ สจล.เปิดสอน ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร ครุอุตสาห กรรม อุตสาหกรรมเกษตร และเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนของ สจล.จะเน้นการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติ จึงอาจทำให้นักศึกษาพิการไม่สามารถเข้าเรียนได้ในสาขา/คณะได้ ซึ่งผู้ปกครองอาจไม่เข้าใจเหตุผล

“ขอย้ำว่า สจล.ไม่เคยปิดกั้นนักศึกษา พิการเข้าเรียน เพียงแต่ สจล.เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการคิดค้นนวัตกรรม สร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลิตบุคลากรที่ต้องทำงานเป็น คิดเป็น ที่สำคัญทุกสาขาเน้นการปฏิบัติเกือบทุกคาบ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาที่พิการทางสายตาก็ไม่สามารถเข้าเรียนได้ เพราะอาจจะไม่ปลอดภัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากนักศึกษาพิการต้องการเข้าเรียนต่อที่ สจล. ก็สามารถมาสมัครเรียน แต่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาว่า จะสามารถเข้าเรียนในคณะที่ต้องการเรียนได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของนักศึกษา” อธิการบดี สจล. กล่าว

ด้าน ดร.ปกรณ์ วัฒนจตุรพร รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า คณะวิศวะ สจล. ไม่เคยกีดกันนักศึกษาพิการ เพียงแต่นักศึกษาต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการของคณะก่อน เนื่องจากบางสาขาวิชานักศึกษาพิการไม่สามารถเข้าเรียนได้จริง ๆ เช่น นักศึกษาพิการทางหูอยากเรียนสาขาเครื่องกล เราก็ไม่สามารถให้เข้าเรียนได้ เพราะในการฝึกปฏิบัติหากนักศึกษาไม่ได้ยินเสียงสัญญาณต่าง ๆ นักศึกษาอาจได้รับอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาพิการทางตาที่จะไม่สามารถเข้าเรียนในเกือบทุกสาขาของคณะวิศวะได้ ขณะที่ผู้พิการทางหู แขน ขา สามารถเข้าเรียนได้แต่ในสาขาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น จึงอยากฝากพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยว่าจะต้องช่วยให้คำแนะนำในการเลือกคณะ/สาขาวิชาแก่เด็กพิการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักศึกษาเป็นหลักด้วย.

Leave a comment »

เด็กแห่ขอดูกระดาษคำตอบGAT

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันอังคาร ที่ 10 สิงหาคม 2553

“อุทุมพร”ยํ้าเดาผิดคะแนนติดลบ

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า จากที่สทศ.ได้เปิดให้นักเรียนยื่นคำร้อง เพื่อขอดูกระดาษคำตอบการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT และการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ครั้งที่ 2/2553 สอบเดือนกรกฎาคม ไปเมื่อวันที่ 6-8 ส.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้มายื่นคำร้อง จำนวน 712 คน เฉลี่ยขอดูคนละ 1-2 วิชา โดยวิชาที่ขอดูมากที่สุดเป็น GAT 488 คน รองลงมา คือ PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 264 คน PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ 141 คน PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 131 คน PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 126 คน PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น 16 คน PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู 14 คน PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน 9 คน PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส 7 คน และ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ 5 คน โดยสามารถดูกระดาษคำตอบได้ที่ สทศ.ในวันที่ 21 ส.ค.นี้

ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวต่อไปว่า จากจำนวนผู้ยื่นขอดูกระดาษคำตอบ GAT/PAT ในครั้งนี้ถือว่าปกติ ส่วนที่ขอดู GAT มากที่สุด เท่าที่ตนได้สอบถามทราบว่านักเรียนคุยกับเพื่อนแล้วคิดว่าตัวเองทำได้เหมือนเพื่อน แต่คะแนนกลับน้อยกว่า หรือบางคนคิดว่าตัวเองน่าจะได้มากกว่าที่ประกาศผลจึงมาขอดู เพื่อความมั่นใจ ทั้งนี้ในการทำข้อสอบวิชา GAT ต้องมั่นใจว่าทำถูกจริง ๆ ไม่ใช่เดา เพราะถ้าเดาผิดคะแนนจะติดลบทันที จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจจะไม่ได้คะแนนเลย ทั้งนี้ สทศ.จะเปิดรับสมัครสอบ GAT/PAT ครั้งที่ 3/2553 สอบเดือนตุลาคม ในวันที่ 10-30 ส.ค.นี้.

Leave a comment »

เดินหน้าขยายโรงเรียนดีตำบล7พันแห่ง

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 09 สิงหาคม 2553
ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบลในปี 2553 โดยใช้งบฯจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 1,704 ล้านบาท เพื่อพัฒนา 182 โรงเรียน ให้เป็นโรงเรียนดีประจำตำบล ซึ่งโรงเรียนจะได้รับงบฯ พื้นฐานแห่งละ 5 ล้านบาท แต่หากโรงเรียนใดได้รับความร่วมมือจากท้องถิ่นมากก็จะได้รับงบฯเพิ่มสูงขึ้นไปอีกแบบท็อปอัพ ซึ่งปัจจุบันมี 80 แห่งที่ได้รับงบฯ ท็อปอัพแห่งละประมาณ 6-13 ล้านบาท

ดร.รังสรรค์ กล่าวต่อไปว่า ในปีงบฯ 54 ได้เสนอตั้งงบประมาณเพื่อทำรุ่นที่ 2 จำนวน 1,200 ล้านบาท และงบฯพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอีกกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งนายชินวรณ์ บุณย เกียรติ รมว.ศธ. เห็นว่าการดำเนินโครงการในปี 2553 ได้ผลดีและได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมทั้งคนในชุมชน ดังนั้นงบฯในปี 2554 ที่ได้รับมาจะนำไปขยายจำนวนโรงเรียนดีประจำตำบลให้เต็มประเทศทั้ง 7,409 ตำบล เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างเด็กในเมืองกับเด็กในชนบทห่างไกล ทั้งนี้จะเปิดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทั้ง อปท. ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือกโรงเรียน คาดว่าในเดือนกันยายน จะได้รายชื่อโรงเรียนที่จะเป็นโรงเรียนดีประจำตำบลในทุกตำบล จากนั้นเดือนตุลาคมจะมีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างรมว. ศึกษาธิการ กับ รมว.มหาดไทย โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยาน และจะมีการลงนามความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด้วย.

Leave a comment »

เผยสละสิทธิเรียนฟรีเพิ่มสูงขึ้น

จากเดลินิวส์ออนไลน์
วันศุกร์ ที่ 06 สิงหาคม 2553

ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ผอ.สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่มีการรณรงค์ให้มีการสละสิทธิหรือบริจาคเงินอุดหนุนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพนั้น ข้อมูลล่าสุดเมื่อ 28 ก.ค. พบว่ามีผู้สละสิทธิและบริจาค รวมเป็นเงิน 23,391,640 บาท ในขณะที่เมื่อปี 2552 มียอดรวมประมาณ 20 ล้านบาท ทั้งนี้ในส่วนที่เป็นเงินบริจาคนั้น โรงเรียนส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้ในกิจกรรมที่ส่งผลกลับคืน สู่เด็ก ส่วนเงินที่ได้จากการสละสิทธิประมาณ 10 ล้านบาท หากนำไปเฉลี่ยจัดสรรให้แก่โรงเรียนที่ไม่ผ่านประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบสอง ประมาณ 3,000 แห่ง คิดว่าแต่ละแห่งคงได้รับไม่มากนัก และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นตนจะเสนอ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้นำเงินมาจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนในกลุ่มดังกล่าวแทน ซึ่งจากการวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่า เด็กในโรงเรียนเหล่านั้นส่วนใหญ่จะไม่ผ่านมาตรฐานการคิดวิเคราะห์ และนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ส่วนครูจะไม่ผ่านมาตรฐานเรื่องที่ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนที่ให้ยึดผู้เรียน เป็นสำคัญ และโรงเรียนขาดครู ดังนั้นตนจะเสนอให้ สพฐ.จัดทำ สื่อที่สามารถตอบสนองต่อการยกมาตรฐานที่ทำให้โรงเรียนไม่ผ่านการ ประเมินดังกล่าว.

Leave a comment »

6วิชาชีพร่วมต้าน พรบ.คุ้มครองฯ ชี้ไม่ก่อประโยชน์

โดย ทีมข่าวการศึกษา จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์
30 กรกฎาคม 2553

แพทยสภา, ทันตแพทยสภา, สภาเทคนิคการแพทย์, สภาการพยาบาล, สภากายภาพบำบัด, สภาเภสัชกรรม ร่วมค้าน พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ชี้ประโยชน์ตกที่กรรมการ มั่นใจเอ็นจีโอหน้าเดิมนั่งเก้าอี้ “จุรินทร์”นัดถก 2 ส.ค.นี้…

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ สภาวิชาชีพทั้ง 6 ประกอบด้วย แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด และสภาเภสัชกรรมได้มีการหารือเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยมีความเห็นเช่นเดียวกันว่าคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 ส.ค.นี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เชิญผู้แทนสภาวิชาชีพทั้ง 6 เข้าหารือเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้

ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ จะทำให้คนส่วนน้อยได้ประโยชน์แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศเสียประโยชน์ เช่น การกำหนดให้สถานพยาบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนที่จะใช้ในการชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้ป่วย จะทำให้โรงพยาบาลของรัฐต้องเจียดเงินจากค่ารักษาพยาบาลที่รัฐจัดสรรให้มาสมทบเข้ากองทุนแทนที่จะใช้ในการรักษาพยาบาลได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนก็จะเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บริการมากขึ้นเพื่อนำเงินมาจ่ายสมทบ อีกทั้งการจ่าย เงินให้โดยไม่มีการดูถูกหรือผิด แพทย์จะไม่รักษาผู้ป่วยที่ประเมินแล้วเห็นว่ามีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะต้องจ่าย ชดเชย ทำให้เกิดการส่งต่อคนไข้หนักมากขึ้น

นอกจากนี้ การอ้างว่าการให้ผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมหลังรับเงินชดเชย จะเป็นประโยชน์กับแพทย์เพราะจะใช้เป็นหลักฐานประกอบให้ศาลลดโทษหรือไม่ลงโทษ ได้นั้น ในความเป็นจริงไม่มีความจำเป็นต้องเขียนกำหนดไว้ เนื่องจากตามกฎหมายอาญาหากแพทย์ยอมรับผิดและยินยอมจ่ายเงิน ศาลก็จะพิจารณาลดโทษแล้ว แต่การที่ระบุไว้ก็เพื่อเป็นการชี้ช่องว่าสามารถฟ้องอาญากับแพทย์ได้ด้วยเท่านั้น

ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า การที่บอกว่ามี พ.ร.บ.นี้แล้วจะทำให้ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วยดีขึ้นนั้น ไม่จริง ในทางตรงกันข้ามอาจจะทำให้แย่ลง เนื่องจากกฎหมายนี้ไม่ได้มีมาตราใดที่เป็นรูปธรรมว่าจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย แค่ช่วยให้การฟ้องศาลน้อยลงเท่านั้น เพราะคนไข้จะหันมาฟ้องศาลเตี้ยแทน ได้เงินเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาพิสูจน์ความผิดถูกเหมือนศาล แต่การร้องขอรับเงินชดเชยไม่ลดลงอย่างแน่นอน และแม้จะรับเงินไปแล้วก็ยังสามารถฟ้องศาลต่อได้อีก แบบนี้จะทำให้ความสัมพันธ์ของสองฝ่ายดีขึ้นได้อย่างไร

“พ.ร.บ.นี้จะทำให้เกิดประโยชน์กับคนแค่ส่วนน้อยและไม่เกิดประโยชน์กับแพทย์เลย แต่คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการออก พ.ร.บ.นี้ คือ คณะกรรมการที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเข้ามาบริหารกองทุนเป็นหมื่นล้านที่จะดูดมาจากรัฐบาลจากภาษีประชาชน”

นายกแพทยสภายังเชื่อว่าตัวแทนจากฝ่ายเอ็นจีโอที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการชุดดังกล่าว จะเป็นคนหน้าเดิมๆ กลุ่มเดิมๆ ขณะที่ในต่างประเทศที่ใช้กฎหมายลักษณะนี้จะให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นคนตัดสินว่าควรได้รับเงินชดเชยหรือไม่และหากได้แล้วจะไม่มีการฟ้องร้องต่อ.

Leave a comment »